1. บทนำ
สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ หรือ สำนักงาน กสม. ให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 และโดยที่การดำเนินงานของสำนักงานต้องมีการเก็บรวบรวมและประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล สำนักงานจึงเป็นผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ที่ต้องมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลตามกฎหมาย
สำนักงานจึงได้มีการจัดทำนโยบายความเป็นส่วนตัวนี้ขึ้น (“นโยบาย”) เพื่อกำหนดแนวทางและหลักปฏิบัติในการดำเนินการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของสำนักงาน
2. รายละเอียดผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล
ผู้ควบคุมข้อมูล : สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection Office: DPO) : นายภานุวัฒน์ ทองสุข ที่ปรึกษาสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติด้านสิทธิมนุษยชน
ที่อยู่ : สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
โทรศัพท์ : 02 141 3828
Email: panuwat_t@nhrc.or.th
3. ขอบเขต
นโยบายนี้มีผลบังคับใช้กับบุคลากรและเจ้าหน้าที่ของสำนักงาน กสม. บุคคลภายนอกที่ปฏิบัติงานในนามหรือร่วมงานกับสำนักงาน กสม. ผู้มาติดต่อราชการเพื่อขอใช้บริการของสำนักงาน กสม.
สำนักงานมุ่งหวังให้ผู้ที่ต้องปฏิบัติตามนโยบายนี้ ได้มีการทำความเข้าใจหลักการและแนวทางที่กำหนดนโยบายนี้ และพึงยึดถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด หากมีผู้ที่ปฏิบัติฝ่าฝืนนโยบาย รวมถึงแนวปฏิบัติต่าง ๆ ภายใต้นโยบายนี้ สำนักงานจะพิจารณาดำเนินมาตรการที่จำเป็นเพื่อลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนนั้น
4. วัตถุประสงค์ในการเก็บรวบรวม ใช้ และเปิดเผยข้อมูลส่วน
สำนักงานดำเนินการเก็บรวบรวม ใช้ และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล และเพื่อประโยชน์ในการดำเนินงานของคณะกรรมการและสำนักงานภายใต้กรอบหน้าที่และอำนาจตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐ กฎ ระเบียบ ประกาศ คำสั่ง หรือแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเพื่อการปฏิบัติตามกฎหมายหรือตามคำสั่งศาล
5. สิทธิเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของตนเอง ดังต่อไปนี้
(1) สิทธิขอเข้าถึงและขอรับสำเนาข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตน หรือขอให้เปิดเผยถึงการได้มาซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวที่ตนไม่ได้ให้ความยินยอม
(2) สิทธิขอรับข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตนจากผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ในกรณีที่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลได้ทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลนั้นอยู่ในรูปแบบที่สามารถอ่านหรือใช้งานโดยทั่วไปได้ด้วยเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ทำงานได้โดยอัตโนมัติและสามารถใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลได้ด้วยวิธีการอัตโนมัติ
(3) สิทธิขอให้แก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลส่วนบุคคลให้ถูกต้อง เป็นปัจจุบัน สมบูรณ์ และไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิด
(4) สิทธิคัดค้านการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตน
(5) สิทธิขอให้ดำเนินการลบหรือทำลาย หรือทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวบุคคลที่เป็นเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลได้
(6) สิทธิขอให้ระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล
ทั้งนี้ การใช้สิทธิดังกล่าวจะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขตามที่กฎหมายกำหนด
6. ช่องทางการติดต่อ