thumbnail content

Dr. Niran Pitakwatchara, M.D.

National Human Rights Commissioner of Thailand
"Human Rights Principle is the principle for creating fairness in the Thai society"
Education

- M.D., Faculty of Medicine, Siriraj Hospital
- Diplomate of Thai Board of Internal Medicine.
 

Experience

- Director, Kanthararom Hospital, (Srisaket Province)
- Senator (Ubon Ratchathani Province)
- Chairperson, Civil Society Foundation (Ubon Ratchatani Province)
- Chairperson, Nature Care Foundation
- Member, Council of Ubon Ratchathani University and Songkhla Rajabhat University
- Extensive experiences in local community network and development

Writing work

1. สิทธิชุมชนกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ที่ดิน ป่า และลุ่มน้ำ โดยมูลนิธิพิทักษ์ธรรมชาติเพื่อชีวิตได้ดำเนินงานทำให้เกิดเครือข่ายสตรีพิทักษ์ป่าชุมชนดงนาทาม ปี 2548 เครือข่ายเยาวชนพิทักษ์ป่าชุมชนดงนาทาม ปี 2547 เกิดรูปแบบการเสริมสร้างการเรียนรู้ การจัดการป่าชุมชนเพื่อชุมชนสุขภาวะ
2. สิทธิชุมชนกับการสร้างสุขภาวะชุมชนในสังคม ตาม พ.ร.บ. สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 โดยมูลนิธิประชาสังคมได้สร้างการรวมตัวเป็นสมัชชาสุขภาพเชิงประเด็นพื้นที่ ทำงานร่วมกับภาครัฐ เอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยยึดหลักการมีส่วนร่วมของ ประชาชน ตัวอย่างกรณีคุ้มครองสิทธิ ได้แก่ กรณีผลกระทบอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง การทำงานพัฒนาสุขภาวะของชุมชนในเมือง กรณีการพัฒนาศูนย์สุขภาพชุมชน ในเมือง การดูแลปัญหาเด็กและเยาวชนในองค์การบริหารส่วนตำบล การพัฒนาชุมชนวัฒนธรรมวัดหลวง
3. สิทธิชุมชนกับกระบวนการยุติธรรมชุมชน มูลนิธิประชาสังคมได้มีส่วนร่วมใน การส่งเสริมคุ้มครองสิทธิชุมชนกับการสร้างความเป็นธรรมในสังคมท้องถิ่นและเป็นการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งขจัดความรุนแรงในพื้นที่ โดยกระบวนการยุติธรรม 2 กรณี ได้แก่ กรณีทุบ ทางเท้า และกรณีตลาดชุมชนกกยาง ดังนั้น กรณีทุบทางเท้าและกรณีตลาดกกยางจึงเป็น การทำงานที่เน้นให้เห็นถึงการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิชุมชนโดยใช้กระบวนการยุติธรรมทางศาลปกครองในการตัดสินวินิจฉัย
4. ผลงานด้านสิทธิเสรีภาพการสื่อสาร โดยมูลนิธิประชาสังคม ทำให้เกิดศูนย์ข่าวประชาสังคม จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อสร้างสื่อภาคประชาชนในพื้นที่ในการให้ข้อมูลข่าวสารชุมชน
5. ปัญหาการละเมิดสิทธิของประชาชนและการใช้อำนาจรัฐที่ไม่เป็นธรรม โดยบทบาทของคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และคณะกรรมาธิการ การมีส่วนร่วมของประชาชน วุฒิสภา ได้แก่ กรณีฆ่าตัดตอนในสงครามยาเสพติด กรณีการสลายผู้ชุมนุมหน้าโรงแรมเจบี อำเภอหาดใหญ่ ในการคัดค้านโครงการท่อก๊าซ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา และกรณีตากใบ จังหวัดนราธิวาส
6. การตรวจสอบการปิดกั้นและลิดรอนสิทธิ เสรีภาพ ในการสื่อสารของประชาชน โดยคณะอนุกรรมาธิการปฏิรูปสื่อในคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ วุฒิสภา
7. การตรวจสอบกรณีทุจริตเชิงนโยบายขายหุ้นชินคอร์ป 73,000 ล้านบาท ของ คณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาสอบสวนและศึกษาเรื่องเกี่ยวกับการทุจริต วุฒิสภา
8. การตรวจสอบการละเมิดสิทธิการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ของคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ วุฒิสภา ทำให้สังคมไทยตระหนักถึงความสำคัญของสิทธิชุมชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
9. การทำงานในตำแหน่งรองประธานคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งสภาพัฒนาการเมืองและแผนแม่บทพัฒนาการเมือง พ.ศ. 2551 และกองทุนพัฒนาการเมือง

Scroll to top