thumbnail content

พลตำรวจเอก วันชัย ศรีนวลนัด

กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
"สิทธิมนุษยชน เป็นสิทธิของความเป็นคน จึงต้องร่วมกันปกป้องและหวงแหน"
ประวัติการศึกษา

- มัธยมศึกษา โรงเรียนสันติราษฎร์บำรุง พ.ศ. 2505 -2510
- รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต โรงเรียนนายร้อยตำรวจ พ.ศ. 2516 ( นักเรียนนายร้อยตำรวจ (นรต.) รุ่น 26 )
- สังคมศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาอาชญาวิทยาและงานยุติธรรม) มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2523
- นิติศาสตรบัณฑิต (น.บ.) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2526
- เนติบัณฑิตไทย (น.บ.ท.) สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา พ.ศ. 2527
- นิติศาสตรมหาบัณฑิต (น.ม.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2532
- ปริญญาบัตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร หลักสูตร การป้องกันราชอาณาจักรภาครัฐร่วมเอกชน” (วปรอ.41-11) สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ พ.ศ. 2541-2542

ประสบการณ์

- ผู้บังคับหมวดตำรวจตระเวนชายแดน อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว (ปราจีนบุรี) พ.ศ. 2516 – 2518
- รองสารวัตรปกครองป้องกัน สถานีตำรวจนครบาลบางรัก กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2518 – 2522
- ผู้ช่วยนายเวรผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจ พ.ศ. 2522 – 2523
- นายเวรผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจ พ.ศ. 2523 – 2524
- สารวัตรแผนกกำลังพล กองบังคับการตำรวจนครบาลธนบุรี พ.ศ. 2524 – 2529
- รองผู้กำกับการโรงเรียนนายร้อยตำรวจ พ.ศ. 2529 – 2531
- อาจารย์วิชากฎหมาย โรงเรียนนายร้อยตำรวจ พ.ศ. 2531 – 2534
- รองผู้บังคับการกองคดี กรมตำรวจ พ.ศ. 2534 – 2537
- ผู้บังคับการกองคดี กรมตำรวจ พ.ศ. 2537 – 2540
- ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง พ.ศ. 2540 – 2542
- รองผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง พ.ศ. 2542 – 2545
- ผู้บัญชาการประจำสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ทำหน้าที่งานกฎหมายและสอบสวน) พ.ศ. 2545 – 2547
- ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ทำหน้าที่งานกฎหมายและสอบสวน) พ.ศ.2547 – 2551
- ที่ปรึกษา (สบ. 10) ทำหน้าที่หัวหน้าที่ปรึกษาด้านความมั่นคง (เทียบเท่ารองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ) พ.ศ. 2551 ถึงวันที่ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๕๒
- ลาออกจากราชการตำรวจ เมื่อวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๒ เนื่องจากได้รับความเห็นชอบจากวุฒิสภา ให้ดำรงตำแหน่งกรรมการสิทธิมนุษยชน

งานเขียน

มีส่วนร่วมทำงานกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ระหว่างปี พ.ศ. 2546 – 2548 ต่อเนื่องกัน โดยเป็นอนุกรรมการคณะต่าง ๆ ดังนี้

- คณะอนุกรรมการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน 1 ตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม 2546 ถึง 19 ธันวาคม 2548 ตามคำสั่งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ที่ 72 / 2546 ลงวันที่ 20 มีนาคม 2546 โดยมีนายสุรสีห์ โกศลนาวิน กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เป็นประธานอนุกรรมการ
- คณะอนุกรรมการเฉพาะกิจเพื่อกำหนดนโยบายในการพัฒนาหลักสูตรการศึกษา พร้อมกิจกรรมด้านสิทธิมนุษยชนศึกษาที่เหมาะสมสำหรับสถาบันการศึกษาของตำรวจ และ โรงเรียนเตรียมทหาร ตั้งแต่วันที่ 18 พฤศจิกายน 2547 ถึงวันที่ 26 มกราคม 2550 ตามคำสั่ง คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ที่ 104 / 2547 ลงวันที่ 18 พฤศจิกายน 2547 โดยมีนายสุทิน นพเกตุ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เป็นประธานอนุกรรมการฯ
- คณะอนุกรรมการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรม ตั้งแต่วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2548 ถึงวันที่ 19 ธันวาคม 2548 ตามคำสั่งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ที่ 12 / 2548 ลงวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2548 โดยมีนายสุรสีห์ โกศลนาวิน กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เป็นประธานอนุกรรมการฯ
- เป็นวิทยากรในการประชุมสัมมนาเกี่ยวกับปัญหาการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ซึ่งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติและคณะอนุกรรมการจัดขึ้นในโอกาสต่าง ๆ หลายครั้ง 
- เป็นคณะกรรมการอิสระตรวจสอบ ศึกษาและวิเคราะห์การกำหนดนโยบายปราบปราม ยาเสพติดให้โทษและการนำนโยบายไปปฏิบัติจนเกิดความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย ชื่อเสียง และทรัพย์สินของประชาชน ซึ่งแต่งตั้งตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 215/2550 ลงวันที่ 14 สิงหาคม 2550 โดยมี ดร.คณิต ณ นคร เป็นประธานกรรมการ ผลการทำงานของคณะกรรมการ ได้จัดพิมพ์เอกสารรูปเล่มมีเนื้อหาจำนวน 49 หน้า และรายงานเสนอนายกรัฐมนตรี (พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์) ไปแล้ว ผลงานเรื่องนี้มีประเด็นสำคัญเกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนโดยตรง
- ทำหน้าที่ผู้ประสานงานระหว่างสำนักงานตำรวจแห่งชาติกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และคณะอนุกรรมการชุดต่างๆ ในเรื่องที่ต้องมีการประชุมร่วมกัน หรือปฏิบัติงานบูรณาการกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเหตุความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดภาคใต้ ปัญหายาเสพติด ปัญหาการค้าหญิงและเด็ก ปัญหาแรงงานต่างด้าว ซึ่งภารกิจเหล่านี้จะต้องใช้กำลังตำรวจจากหน่วยปฏิบัติในพื้นที่เข้าร่วมด้วย ได้แก่ กองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 1 – 9 กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน กองบัญชาการตำรวจตรวจคนเข้าเมือง และกองบัญชาการตำรวจยาเสพติด
- การปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ระหว่างปี พ.ศ. 2547 – 2550 ได้รับมอบหมายจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ให้รับผิดชอบงานด้านกฎหมาย และงานด้านสิทธิมนุษยชน โดยเป็นผู้แทนเข้าร่วมประชุมกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในโอกาสต่าง ๆ ตลอดมา
- ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่ง ที่ปรึกษา (สบ. 10) ทำหน้าที่หัวหน้าที่ปรึกษาด้านความมั่นคง งานสำคัญส่วนหนึ่งเกี่ยวข้องกับปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดภาคใต้ เป็นภารกิจประสาน เชื่อมโยงกับชุดทำงานของกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (นายสุรสีห์ โกศลนาวิน) ซึ่งลงไป ปฏิบัติงานในพื้นที่ ทำให้เกิดความสะดวกและคล่องตัวยิ่งขึ้น

เลื่อนขึ้นด้านบน